ชาติตะวันตกเสียงแตกส่งบินรบให้ยูเครน ฝรั่งเศสไม่ตัดความเป็นไปได้

ชาติตะวันตกเสียงแตกส่งบินรบให้ยูเครน

ชาติตะวันตกเสียงแตกเรื่องการส่งเครื่องบินรบให้ยูเครน เพื่อรับมือการรุกรานจากรัสเซีย โดยสหรัฐฯ กับสหราชอาณาจักรออกมาปฏิเสธ แต่ฝรั่งเศสไม่ตัดความเป็นไปได้

ข่าว สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า ชาติตะวันตกแสดงความเห็นที่แตกต่างกันเกี่ยวกับเรื่องการส่งเครื่องบินรบไปให้ยูเครน เพื่อช่วยรับมือการรุกรานจากรัสเซีย โดบประธานาธิบดี โจ ไบเดน ของสหรัฐฯ กล่าวเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา ปฏิเสธที่จะส่งเครื่องบินรบ F-16 ให้เคียฟ ขณะที่สหราชอาณาจักรระบุว่า การส่งเครื่องบินไม่สามารถทำได้ในทางปฏิบัติ อย่างไรก็ตาม ประธานาธิบดี เอ็มมานูเอล มาครง ของฝรั่งเศส กล่าวว่า “ไม่มีตัวเลือกถูกตัดออกไป” ก่อนที่เจ้าหน้าที่ฝรั่งเศสจะเข้าพบกับรัฐบาลมนตรีของยูเครน แต่เขาย้ำด้วยว่า การส่งเครื่องบินต้องไม่เป็นการสุมไฟให้สถานการณ์ในยูเครน หรือจำกัดความสามารถในการป้องกันตัวเองของฝรั่งเศส ความเคลื่อนไหวล่าสุดเกิดขึ้นหลังจากผู้นำยูเครนออกมาเรียกร้องอีกครั้งให้ชาติพันธมิตรตะวันตกส่งเครื่องบินให้มาช่วยพวกเขา โดยประธานาธิบดี โวโลดีเมียร์ เซเลนสกี กับผู้นำกองทัพยูเครนกล่าวว่า

ชาติตะวันตกเสียงแตกส่งบินรบให้ยูเครน

ไม่ควรมีข้อห้ามเกี่ยวกับความช่วยเหลือทางทหารเช่นนี้ แต่สหรัฐฯ กับพันธมิตรกลัวว่า การส่งเครื่องบินรบจะทำให้สถานการณ์ในยูเครนบานปลายยิ่งขึ้น ในวันอังคาร สื่อของยูเครนเผยแพร่คำพูดของนายยูรี อีห์นัต

โฆษกกองทัพอากาศยูเครนที่ระบุว่า ตอนนี้เคียฟต้องการเครื่องบินรบแบบหลายบทบาท (multi-role) อย่าง F-16 ประมาณ 200 ลำ เพื่อปกป้องน่านฟ้าของประเทศ เนื่องจากตอนนี้รัสเซียมีเครื่องบินมากกว่าพวกเขา 5-6 เท่า นักวิเคราะห์มองว่า เครื่องบินรบ F-16 ของสหรัฐฯ จะสามารถยกระดับฝูงบินรบของยูเครน ที่ส่วนใหญ่เป็นเครื่อง MiG ซึ่งอยู่มาตั้งแต่ยุคโซเวียตได้อย่างมีนัยสำคัญ แต่ประธานาธิบดีไบเดนบอกปัดข้อเรียกร้องของยูเครนมาตลอด และมุ่งเน้นให้ความช่วยเหลือทางทหารในด้านอื่นๆ แทน ด้านสหราชอาณาจักร แม้นายกรัฐมนตรีริชี ซูแน็ก จะบอกว่า ข่าวทันโลกข่าวต่างประเทศ การส่งเครื่องบินรบให้ยูเครนนั้นทำไม่ได้ในทางปฏิบัติ แต่โฆษกของเขาระบุว่า นายกรัฐมนตรีมีการหารืออย่างเข้มข้นกับที่ปรึกษาด้านการทหาร และได้ข้อสรุปว่า การปล่อยให้รัสเซียได้เปรียบในด้านของจำนวนในสงครามพร่ากำลัง ไม่เป็นประโยชน์ต่อยูเครน ขณะที่นายกรัฐมนตรีโอลาฟ ชอลซ์ ของเยอรมนี ยืนยันไปก่อนหน้านี้แล้วว่า พวกเขาจะไม่ส่งเครื่องบินรบให้ยูเครน ไม่กี่วันหลังจากเพิ่งตกลงส่งรถถังประจัญบานให้ยูเครนเป็นครั้งแรก