ปีแห่งการสู้กลับของโรงหนัง เมเจอร์ฯ งัด 3 เสาหลัก ฟื้นรายได้ “หมื่นล้าน”

ปีแห่งการสู้กลับของโรงหนัง เมเจอร์ฯ งัด 3 เสาหลัก

กางแผนเบอร์ 1 โรงภาพยนตร์ “เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์” งัด 3 เสาหลัก(Pillars) เคลื่อนธุรกิจ ทั้งขยายโรงหนังพร้อมสร้างประสบการณ์ให้คอหนัง สร้างหนังไทยปั่นแบรนด์ “ทอลลีวู้ด” และหาน่านน้ำใหม่ขาย “ป๊อปคอร์น” ฟื้นรายได้ทะยานสู่ “หมื่นล้านบาท” อีกครั้ง

ข่าว วิชา พูลวรลักษณ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป จำกัด (มหาชน) ฉายภาพปี 2566 จะเป็นปีแห่งการ Fight Back อย่างแท้จริง และจากการหารือกับสตูดิโอ หรือค่ายผู้สร้างภาพยนตร์ ต่างให้ความมั่นใจถึงหนังฟอร์มใหญ่ที่ทุ่มทุนสร้างมหาศาล จะป้อนคอนเทนท์ให้กับโรงหนังเต็มสูบ หลังจากที่ผ่านมา ทดลองโมเดลธุรกิจ ป้อนแพลตฟอร์มสตรีมมิ่งแล้วพบว่าการฉายในโรงหนังเป็นด่านแรกหรือ window ผลตอบรับดีกว่ามาก และสร้างการรับรู้ได้ดียิ่งขึ้น เมื่อไปอยู่บนออนไลน์ “ทุกค่ายสร้างความเชื่อมั่นอย่างมากว่าปีหน้าหนังตบเท้าเข้าโรงจำนวนมาก จัดเต็มตั้งแต่ซัมเมอร์ เมื่อค่ายหนังฮอลลีวู้ดซัพพอร์ตหนังดี จะเอื้อต่อยอดขาย สร้างกระแสเงินสด อย่างเรื่อง อวตาร 2 ยอดจองตั๋วล่วงหน้าดีมาก” สำหรับแผนธุรกิจของเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ฯ ปี 2566 บริษัทวาง 3 เสาหลัก เพื่อสร้างความสำเร็จและผลักดันการเติบโต ดังนี้ 1.การสร้างประสบการณ์ให้ลูกค้า บริษัทจึงทำการปรับภาพลักษณ์โรงภาพยนตร์หลายสาขา เพิ่มโรงที่มีระบบฉาย “ไอแม็กซ์ เลเซอร์” และ “ScreenX PLF” และนำเทคโนโลยี “CAPSULE HOLOGRAM” ผสมผสานโลกแห่งความเป็นจริง และเมตาเวิร์ส ซึ่งเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ฯ ถือเป็นรายแรกของโลกด้วย ปี 2566 ยังเป็นครั้งแรกในรอบ 3 ปี ที่บริษัทกลับมาเปิดโรงภาพยนตร์มากสุดจำนวน 13 สาขา 49 โรง ภายใต้งบลงทุนหลัก “พันล้านบาท” โดยไฮไลต์สำคัญ เช่น เปิดโรงหนังที่ โครงการ One Bangkok เปิดสาขาสแตนด์อโลนที่ภูเก็ต และขยายโบว์ลิ่ง เพิ่ม 3 สาขา 40 เลน และ คาราโอเกะ 30 ห้อง รวมถึงการลุยตลาดต่างประเทศ เปิดโรงหนังที่กัมพูชาเพิ่ม เป็นต้น จากสิ้นปี 2565 เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ ฯ มีโรงหนังรวม 180 สาขา 839 โรง 188,973 ที่นั่ง “เชื่อว่าลูกค้าต้องการประสบการณ์ดูหนังดีกว่าช่วงก่อนโควิดระบาด การดูหนังจอใหญ่มันดีกว่าจริงๆ และตอกย้ำว่าโรงหนังคือวินโดว์แรกที่เป็นพลังดึงดูดคนดู” เสาหลักที่ 2 เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ฯ มุ่งโฟกัสสร้างคอนเทนต์หนังไทย เพื่อผลักดันสู่การเป็น “ทอลลีวู้ด” ยกระดับอุตสาหกรรมหนังไทย ให้ทัดเทียมญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ซึ่งคอนเทนต์ท้องถิ่น(Local content) เป็นกุญแจสำคัญในการดึงคนดูหนัง ปัจจุบันอาเซียน พบว่าประเทศอินโดนีเซีย หนังท้องถิ่นแข็งแกร่ง แต่ละปีมีหนังป้อนตลาดกว่า 100 เรื่อง และสัดส่วนหนังท้องถิ่นเกิน 50% จากเดิมต่ำกว่าปีแห่งการสู้กลับของโรงหนัง เมเจอร์ฯ งัด 3 เสาหลัก ฟื้นรายได้ “หมื่นล้าน”เมเจอร์ฯ ลุยป้อนหนังไทยเจาะคนดูท้องถิ่น(Local)รัวๆ ทั้งนี้ ปี 2565 หนังไทยมีสัดส่วน 30% ซึ่งถือว่าไม่แย่ แต่ไม่ดีเท่าที่คาดหวัง ธุรกิจจึงต้องไม่หยุดนิ่ง เดินหน้าพัฒนาหนังไทย โดยปี2566 บริษัทวางแผนสร้างหนัง 15-20 เรื่อง จากตลาดรวมคาดมีหนังไทยออกสู่ตลาด 45-50 เรื่อง ขณะที่งบลงทุน บริษัทตั้งไว้ 15-50 ล้านบาทต่อเรื่อง ซึ่งยังไม่รวมงบโฆษณา ประชาสัมพันธ์ “ในฐานะผู้นำโรงภาพยนตร์ก็เครียด ที่ประเทศเพื่อนบ้านสร้างหนังหรือคอนเทนต์ท่องถิ่นแซงไทย เพราะสะท้อนว่าเราสู้ไม่ได้ ปีหน้าเราจึงจับมือพันธมิตร สร้างหนังเพิ่ม จากปีนี้สร้างไป 11-12 เรื่อง เพื่อกระตุ้นคนไทยดูหนัง ที่ผ่านมาบริษัทยังปรับกลยุทธ์ลดราคาตั๋วหนังในตลาดต่างจังหวัด หนือเทียร์ 2 ให้ถูกลง 30-40% ด้วย ลดโปรโมชั่น การทำตลาด”

ปีแห่งการสู้กลับของโรงหนัง เมเจอร์ฯ งัด 3 เสาหลัก

ปีแห่งการสู้กลับของโรงหนัง เมเจอร์ฯ งัด 3 เสาหลัก ฟื้นรายได้ “หมื่นล้าน”วิชา พูลวรลักษณ์

ส่วนเสาหลักที่ 3 คือการหารายได้พิเศษ เสริมแกร่งธุรกิจ โดยเฉพาะ “ป๊อปคอร์น”กลายเป็นจิ๊กซอว์สำคัญ ซึ่งที่ช่วงโควิด-19 ระบาด บริษัทไม่คาดคิดว่าการขายป๊อปคอร์นผ่านเดลิเวอรี่ การสร้างจุดจำหน่าย(คีออส) นอกโรงภาพยนตร์จะสร้างรายได้แตะระดับ 20-30 ล้านบาทต่อเดือน จากตอนออกสตาร์ท ทำยอดขายเพียงหลักหมื่นบาทต่อวัน ภารกิจการทำตลาดป๊อปคอร์นปี2566 ได้ร่วมกับเถ้าแก่น้อยฯ ในการผลิตสินค้า พัฒนารสชาติใหม่ รวมถึง “ปรับโครงสร้างราคา” ให้ต่ำลง เพื่อจำหน่ายในร้านสะดวกซื้อ รวมถึงใช้ความเชี่ยวชาญในการทำตลาดสแน็คสาหร่าย ผ่านร้านค้าทั่วไป มาต่อยอดให้กับป๊อบคอร์นของเมเจอร์ฯ ภายใต้แบรนด์ “ป๊อปสตาร์” ด้วย อนาคตบริษัทยังมองโอกาสในการขยายตลาดไปยังต่างประเทศด้วย ข่าวธุรกิจ ปีแห่งการสู้กลับของโรงหนัง เมเจอร์ฯ งัด 3 เสาหลัก ฟื้นรายได้ “หมื่นล้าน”สำหรับก่อนโควิดระบาด ป๊อปคอร์นทำรายได้ 30% ของพอร์ตโฟลิโอบริษัท ช่วงโควิดสัดส่วนแตะ 70% อย่างไรก็ตาม ปีหน้าบริษัทจะผลักดันรายได้ป๊อปคอร์นแตะ 5,000 ล้านบาท จากปี 2565 มีรายได้ราว 2,500 ล้านบาท อนาคตจะทำให้สัดส่วนรายได้ป๊อปคอร์นเท่ากับยอดขายตั๋วหนังที่ 50% “สิ่งที่คิดว่าไม่น่าเชื่อ แต่กลับสร้างการเติบโตอย่างเหลือเชื่อคือศักยภาพของป๊อปคอร์น และยังช่วยให้เราทำอะไรใหม่ๆ จากที่เคยมองไม่เห็นศักยภาพสินค้าด้วย” นอกจากนี้ บริษัทยังมองการหารายได้พิเศษอื่นๆ เช่น ใช้พื้นที่โรงหนัง จัดกิจกรรมต่างๆ เช่น อีเวนต์ การเปิดตัวสินค้า จัดรับชมคอนเสิร์ต เป็นต้น จากแผนดังกล่าวบริษัทคาดว่าจะผลักดันรายได้กลับมาแกร่งระดับ “หมื่นล้านบาท” อีกครั้ง