JMART ประกาศซื้อหุ้น ‘สุกี้ ตี๋น้อย’ 30% มูลค่า หนึ่งพันสองร้อยล้านบาท

JMART ประกาศซื้อหุ้น ‘สุกี้ ตี๋น้อย’ 30% มูลค่า หนึ่งพันสองร้อยล้านบาท

วันนี้ (8 พ.ย. 2565) บริษัท เจ มาร์ท จำกัด (มหาชน) หรือ JMART แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่าที่ประชุมบอร์ดของบริษัท

ธุรกิจ มีมติอนุมัติให้เข้าลงทุนในบริษัท บี เอ็น เอ็น เรสเตอรองท์ กรุ๊ป จำกัด หรือ BNN ซึ่งประกอบธุรกิจร้านอาหารภายใต้แบรนด์ ‘สุกี้ ตี๋น้อย’ จำนวน 352,941 หุ้น คิดเป็นสัดส่วน 30% ของจำนวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมด มูลค่าลงทุนรวมไม่เกิน 1,200 ล้านบาท โดยเป็นการซื้อหุ้นสามัญจากผู้ถือหุ้นเดิม จำนวน 176,471 หุ้น คิดเป็นสัดส่วน 15% และซื้อหุ้นเพิ่มทุนของ BNN จำนวน 176,470 หุ้น คิดเป็นสัดส่วน 15% โดยปัจจุบันอยู่ระหว่างการเข้าหารือในสัญญาซื้อขายหุ้น และสัญญาผู้ถือหุ้น ซึ่งคาดว่าจะเสร็จสิ้นภายในภายในไตรมาส 4/2565 นี้ JMART ระบุว่า BNN เป็นบริษัทที่ประกอบธุรกิจร้านอาหารประเภทสุกี้ ภายใต้แบรนด์ “สุกี้ ตี๋น้อย” ซึ่งปัจจุบันมีสาขา 42 สาขา ในประเทศ โดยมีแผนธุรกิจในการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ซึ่งบริษัทในฐานะที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านการค้าปลีก การเงิน และเทคโนโลยี จะช่วยให้พันธมิตรทางการค้า BNN มีการเติบโตในด้านผลการดำเนินงานให้ได้ตามเป้าหมายการขยายสาขาไปยังพื้นที่ที่มีศักยภาพทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด และรวมถึงแผนการเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ล่าสุด สมาคมธุรกิจเช่าซื้อไทย ได้ออกประกาศชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับวิธีการคำนวณดอกเบี้ยในธุรกิจให้เช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์ โดยระบุว่า จากที่มีการเผยแพร่เกี่ยวกับการคิดดอกเบี้ย ตามประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่อง ให้ธุรกิจให้เช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์เป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ. 2565 ว่าต่อไปจะให้คิดดอกเบี้ยเป็นแบบอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงต่อปี (Effective Interest Rate) หรือที่เข้าใจกันว่าเป็นการลดต้นลดดอก จะสามารถประหยัดดอกเบี้ยและสามารถโปะได้เหมือนการผ่อนบ้านนั้น

JMART ประกาศซื้อหุ้น ‘สุกี้ ตี๋น้อย’ 30% มูลค่า หนึ่งพันสองร้อยล้านบาท

สมาคมธุรกิจเช่าซื้อไทยขอเรียนว่าไม่ได้มีการเปลี่ยนระบบการคำนวณดอกเบี้ยใหม่แต่อย่างไร

เพื่อความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ สมาคมธุรกิจเช่าซื้อไทย ขอเรียนว่า การคิดดอกเบี้ยสินเชื่อเช่าซื้อตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์กำหนดให้สินเชื่อเช่าซื้อมีการคิดแบบ flat rate ซึ่งเป็นการคิดดอกเบี้ยแบบคงที่ตลอดอายุสัญญา เพื่อให้การคำนวณอัตราการผ่อนชำระให้มีจำนวนเท่ากันทุกงวด โดยมีทั้งดอกเบี้ยและเงินต้นในแต่ละงวด แต่ในการบันทึกบัญชีและการเสียภาษีอากรนั้นต้องปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 17 (ฉบับปรับปรุง 2559) เรื่องสัญญาเช่า โดยสภาวิชาชีพบัญชีแห่งประเทศไทยกำหนดให้การรับรู้รายได้ดอกเบี้ยของสัญญาเช่าซื้อต้องคำนวณโดยวิธีอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงต่อปี (Effective Interest Rate) ซึ่งเป็นวิธีที่ปฏิบัติตามปกติที่สถาบันการเงินหรือนิติบุคคลที่ทำธุรกิจเช่าซื้อ จะต้องแปลงจาก flat rate มาคำนวณเป็นอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงต่อปี (Effective Interest Rate) เพื่อใช้เป็นฐานในการคำนวณดอกเบี้ยรายเดือน กล่าวคือ ค่างวดที่ชำระมาจะนำไปหักดอกเบี้ยก่อน ที่เหลือจะหักเป็นเงินต้น ซึ่งงวดต้นๆ จะมีดอกเบี้ยมากกว่าต้นเงิน และงวดท้ายๆ จะมีต้นเงินมากกว่าดอกเบี้ย เมื่อชำระครบ ต้นเงินจะถูกหักชำระครบด้วยเช่นเดียวกับการผ่อนบ้าน ฉะนั้นการที่ สคบ. ประกาศให้ระบุการคิดดอกเบี้ยและการจัดทำตารางแนบท้าย ข่าวธุรกิจ โดยให้ระบุการคิดอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงต่อปี (Effective Interest Rate) นั้น ก็เพื่อให้ทราบว่าการคิดอัตราดอกเบี้ยแบบ flat rate (แบบคงที่ตลอดอายุสัญญา) นั้น เมื่อนำมาคำนวณแบบที่แท้จริงต่อปี (Effective Interest Rate) หรือที่เรียกกันว่าแบบลดต้นลดดอกนั้น ในทางปฏิบัติตามบัญชีนั้นอยู่ในอัตราเท่าใด เพื่อที่ประชาชนจะได้ทราบอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง และใช้ในการตัดสินใจในการขอสินเชื่อกับสถาบันการเงินนั้นๆ ต่อไป

แนะนำข่าวธุรกิจ อ่านเพิ่มเติมคลิ๊กเลย : “กรุงไทย” ออกหุ้นกู้อนุพันธ์ คุ้มครองเงินต้น 100% ดอกเบี้ยคงที่ 1.45% ต่อปี